การเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ประจำปี 2567

การเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ประจำปี 2567รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและบัณฑิตศึกษา สถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ได้ลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมเป็นหนึ่งในการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ประจำปี 2567 โดยมีความร่วมมือกับศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมูลนิธิคีนันแห่งเอเชียมาเป็นวิทยากรในครั้งนี้ด้วย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้อาจารย์สายสอนและวิจัยมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning ณ ห้องประชุม ดร.จงรัก พลาศัย ชั้น 3 สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา นั้นในการนี้ ได้รับบันทึกข้อความจากกองส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน งานหลักสูตรและพัฒนาอาจารย์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เลขที่ อว 0608.01.4/ ว131 ลงวันที่ 10 กรกฏาคม 2567 เรื่อง มอบเกียรติบัตร จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการฯ […]

กิจกรรมปรับพื้นฐานนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567

กิจกรรมปรับพื้นฐานนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567เพื่อเป็นการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพนักศึกษาใหม่ในการใช้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะทักษะภาษาอาหรับ โดยได้มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้จัดเตรียมข้อมูลในโครงการฯ จัดวางรูปแบบของกิจกรรม และจัดเตรียมสื่อการเรียนรู้และอุปกณ์ที่จำเป็นในการดำเนินโครงการฯ ให้เรียบร้อย ทั้งยังได้มอบหมายให้มีจัดทำและเสนอคำสั่งแต่งตั้งเพื่อมอบหมายงานตามฝ่ายต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นนั้น พร้อมยังได้ชี้แจงถึงภาระหน้าที่และกรอบเวลาในการดำเนินงาน ซึ่งโครงการจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 – 24 มิถุนายน 2567

เข้าร่วมสัมมนาเยาวชนอาเซียน “เยาวชนกับสันติภาพโลก ซึ่งจัดโดยสภายุวมุสลิมโลก สำนักงานประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยฟาฏอนี

ผศ.ดร.ตัรมีซี สาและ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานักศึกษาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา ในฐานะได้รับเชิญเข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดโครงการสัมมนาในครั้งนี้ พร้อมได้นำนักศึกษา จำนวน 4 คน จากสถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เข้าร่วมสัมมนาเยาวชนอาเซียน “เยาวชนกับสันติภาพโลก ซึ่งจัดโดยสภายุวมุสลิมโลก สำนักงานประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารเรียนรวมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ระหว่างวันที่ 13 – 15 ธันวาคม 2566 โดยมีคณาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากประเทศไทยและประเทศซาอุดีอาระเบียคอยให้ความรู้ และชี้แนะให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมการสัมมนาทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งหมด 220 คน จากการเข้าร่วมสัมมนาดังกล่าวเป็นการสร้างเสริมพัฒนาการและพัฒนาศักยภาพที่ดีต่อนักศึกษา และผู้เข้าร่วมการสัมมนาให้มีความรู้ ความเข้าใจอิสลามที่สมบูรณ์ รวมถึงได้เรียนรู้วิถีชีวิตที่หลากหลายและสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับภูมิภาค พร้อมการเป็นวิศวกรสังคมที่มีคุณภาพและสามารถเสร้างเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย