หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาอิสลามศึกษา
M.A. Islamic Studies
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทยชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา
ชื่อย่อ : ศศ.ม. (อิสลามศึกษา)
ภาษาอังกฤษชื่อเต็ม : Master of Arts in Islamic Studies
ชื่อย่อ : M.A. (Islamic Studies)
ภาษาอาหรับ : برنامج الدراسات العليا قسم الدراسات الإسلامية
ภาษามลายู : Ijazah Sarjana Jabatan Pengajian Islam
ภาษาที่ใช้
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอาหรับเป็นหลัก และเสริมด้วยภาษาไทย ภาษามาลายู หรือภาษาอังกฤษ ส่วนการเขียนวิทยานิพนธ์ นักศึกษาสามารถเขียนโดยใช้ภาษาไทย ภาษามาลายู ภาษาอาหรับ หรือภาษาอังกฤษได้
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
จัดการดำเนินการเรียนการสอนตามรายละเอียดต่อไปนี้
ภาคการศึกษาต้น เดือนมิถุนายน – พฤศจิกายน
ภาคการศึกษาปลาย เดือนธันวาคม – พฤษภาคม
แผน ก แบบ ก1 และแผน ก แบบ ก2 เรียนวันเสาร์และวันอาทิตย์
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
แผน ก แบบ ก1
1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาอิสลามศึกษา หรือสาขา ที่สัมพันธ์ โดยมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.70 หรือ มีประสบการณ์ในการวิจัยในสาขาวิชาอิสลามศึกษาหรือสาขาที่สัมพันธ์ หรือ มีผลงานทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง
1.2 คุณสมบัติอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากข้อ 1.1 โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ทั้งนี้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2557
แผน ก แบบ ก2
2.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาอิสลามศึกษา หรือสาขาที่สัมพันธ์โดยมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือมีประสบการณ์การทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 1 ปี
2.2 คุณสมบัติอื่นๆ ที่นอกเหนือจากข้อ 2.1 โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้รับผิดชอบหลักสูตร ทั้งนี้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2557
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. นักวิชาการอิสลามศึกษา
2. นักวิจัยทางสังคมศาสตร์
3. อาจารย์มหาวิทยาลัย
4. ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับอิสลามศึกษา เช่น ผู้สอน ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษาด้านอิสลามแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นต้น
โครงสร้างหลักสูตร
มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ
1. แผน ก แบบ ก1 เน้นทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษางานรายวิชาเพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต
2. แผน ก แบบ ก2 ทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต และศึกษางานรายวิชาที่ต้องเรียนไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก1 | ||
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น | หน่วยกิต | |
09-036-101 | บทอ่านภาษาอังกฤษเพื่ออิสลามศึกษา* | 0 (2-0-3) |
09-036-202 | วิธีวิทยาการวิจัยทางอิสลามศึกษา* | 0 (1-2-3) |
09-036-401 | วิทยานิพนธ์ แผน ก แบบ ก1 | 6(0-18-0) |
รวม | 6 | |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย | ||
09-036-401 | วิทยานิพนธ์ แผน ก แบบ ก1 | 9(0-27-0) |
รวม | 9 | |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น | ||
09-036-401 | วิทยานิพนธ์ แผน ก แบบ ก1 | 9(0-27-0) |
รวม | 9 | |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาปลาย | ||
09-036-401 | วิทยานิพนธ์ แผน ก แบบ ก1 | 12(0-36-0) |
รวม | 12 |
แผน ก แบบ ก2 | ||
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น | หน่วยกิต | |
09-036-101 | บทอ่านภาษาอังกฤษเพื่ออิสลามศึกษา* | 0(2-0-3) |
09-036-201 | การศึกษาอัลกุรอานและอัสซุนนะฮฺ | 2(1-2-3) |
09-036-202 | วิธีวิทยาการวิจัยทางอิสลามศึกษา | 2(1-2-3) |
09-036-203 | สัมมนาอิสลามกับประเด็นปัญหาร่วมสมัย | 2(1-2-3) |
รวม | 6 | |
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย | ||
09-036-301 | อะกีดะฮฺ อิสลามียะฮฺ | 2(1-2-3) |
09-036-302 | อิสลามในพหุวัฒนธรรม | 2(1-2-3) |
09-036-303 | ฟิกฮฺมุอามาลาตในสังคมปัจจุบัน | 2(1-2-3) |
09-036-402 | วิทยานิพนธ์ แผน ก แบบ ก2 | 6(0-18-0) |
รวม | 12 | |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น | ||
09-036-304 | ชารีอะฮฺกับจริยธรรม | 2(1-2-3) |
09-036-305 | การจัดการฝึกอบรมและนวัตกรรมทางอิสลามศึกษา | 2(1-2-3) |
09-036-30609-036-402 | ศาสตร์การสอนทางอิสลามศึกษาวิทยานิพนธ์ แผน ก แบบ ก2 | 2(1-2-3)6(0-18-0) |
รวม | 12 | |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาปลาย | ||
09-036-402 | วิทยานิพนธ์ แผน ก แบบ ก2 | 6(0-18-0) |
รวม | 6 |
มาตรฐานผลการเรียนรู้ของหลักสูตร
(หมวดวิชาทั่วไปและหมวดวิชาเฉพาะ)
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม1.1) ตระหนักถึงความสำคัญในวิถีชีวิตภายใต้กรอบคุณธรรม และจริยธรรมอิสลาม1.2) เคารพในสิทธิมนุษยชน มีสัมมาคารวะ ให้เกียรติ และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 1.3) มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม มีวินัย ตรงต่อเวลา และสามารถใช้ชีวิตพหุวัฒนธรรมในสังคมไทย |
2. ด้านความรู้ 2.1) มีความเข้าใจในองค์ความรู้ทางอิสลามศึกษา ทั้งภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ สามารถสร้างเสริมองค์ความรู้ |
3. ด้านทักษะทางปัญญา3.1) มีแนวคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเด็นทางวิชาการโดยใช้ความรู้ด้านอิสลามศึกษาและศาสตร์อื่นๆ ร่วมสมัย3.2) มีความสามารถในการสังเคราะห์ตัวบทและใช้ผลงานวิจัย สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการที่มีมาก่อนสู่การพัฒนาความคิดใหม่ๆ โดยการบูรณาการให้เข้ากับองค์ความรู้เดิมหรือเสนอเป็นความรู้ใหม่ที่สร้างสรรค์3.3) มีความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นหรือปัญหาความขัดแย้งได้อย่างสร้างสรรค์ รวมถึงการผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมทางอิสลามศึกษา 3.4) มีความสามารถดำเนินการค้นคว้าทางวิชาการและวิจัย โดยการใช้ความรู้ด้านอิสลามศึกษาและศาสตร์อื่นๆ |
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ4.1) สามารถสร้างความสัมพันธ์และแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคลและองค์กรได้4.2) สามารถประเมินสถานการณ์ วางแผนและตัดสินใจในการดำเนินงานของตนเองและองค์กรให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระดับสูงได้4.3) มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองและให้ความร่วมมือกับผู้อื่นอย่างเต็มที่ในการจัดการปัญหาความขัดแย้งและปัญหาต่างๆ4.4) มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี แสดงทักษะการเป็นผู้นำได้อย่างเหมาะสมตามโอกาสและสถานการณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่ม |
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ5.1) สามารถสื่อสารทั้งการพูดและการเขียนภาษามลายูได้อย่างมีประสิทธิภาพ5.2) รู้จักเลือกและใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ5.3) สามารถเข้าถึง และคัดเลือกความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอิสลามศึกษา จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ5.4) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการเผยแผ่องค์ความรู้และการผลิตสื่อหรือนวัตกรรมทางอิสลามศึกษา |
– สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
เป็นหลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564
เวลาที่เริ่มใช้หลักสูตรภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2564
สภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ อนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันที่ 14 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
– ระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี
– อิสลามศึกษาจบได้ภายใน 2 ปี
– ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
80,000 บาท
>>> คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์ <<<
>>> ตัวอย่าง โปสเตอร์บทความวิจัย <<<
ระบบอุทธรณ์ของนักศึกษาหลักสูตร ป.โท ฯ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1. นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขออุทธรณ์ผลการเรียนต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ
2. จากนั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการเสนอรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
3. นำเข้าสู่คณะกรรมการประชุมพิจารณาเสนอผู้อำนวยการเพื่ออนุมัติผลการอุทธรณ์
4. แจ้งผลการอุทธรณ์แก่นักศึกษาโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ
5. นักศึกษาสามารถยืนได้ไม่เกิน 10 วันหลังจากเกรดออก
6. นักศึกษาจะทราบผลอุทธรณ์ภายใน 5 วัน
นอกจากนี้หลักสูตรฯได้เปิดช่องทางเพื่อการรับความคิดเห็นและการร้องเรียน โดยผ่านอาจารย์ที่ปรึกษา ทาง Line กลุ่มนักศึกษาและคณาจารย์ และอีเมล์อาจารย์ รวมทั้งได้เปิดช่องทางให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นหือร้องเรียนทางเว็บเบอร์ดของเว็บไซต์สถาบันอิสลามฯ (aias.pnu.ac.th) ตลอดจนมีการติดตามพูดคุยและรับข้อร้องเรียนต่างๆจากนักศึกษาเพื่อการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือนักศึกษาเบื้องต้นหรือเสนอต่อหัวหน้าสาขาหลักสูตรฯ เพื่อพิจารณาตามขั้นตอนที่กำหนดต่อไป