MENARA : Journal of Islamic and Contemporary Issues (M-JICI)
มนารอ : วารสารประเด็นอิสลามร่วมสมัย
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2563
ISSN 2730-2547 (Online)
MENARA : Journal of Islamic and Contemporary Issues (M-JICI) / มนารอ : วารสารประเด็นอิสลามร่วมสมัย รับพิจารณาเผยแพร่ผลงานทางวิชาการออนไลน์ ประเภทผลงานวิชาการประกอบด้วยบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และบทความปริทัศน์ ทั้งนี้บทความต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารอื่นมาก่อนนับจากวันที่ผู้เขียนได้ส่งบทความฉบับนี้มายังกองบรรณาธิการ
เกี่ยวกับวารสาร MENARA
MENARA : Journal of Islamic and Contemporary Issues (M-JICI) / มนารอ : วารสารประเด็นอิสลามร่วมสมัย รับพิจารณาเผยแพร่ผลงานทางวิชาการออนไลน์ ประเภทผลงานวิชาการประกอบด้วยบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และบทความปริทัศน์ ทั้งนี้บทความต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารอื่นมาก่อนนับจากวันที่ผู้เขียนได้ส่งบทความฉบับนี้มายังกองบรรณาธิการ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ด้านการวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และบทความปริทัศน์ ที่เป็นประเด็นร่วมสมัยต่างๆ เกี่ยวกับอิสลามในประเทศอาหรับและโลกมุสลิม
2. เพื่อส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างนักวิชาการที่หลากหลายในประเด็นร่วมสมัยเกี่ยวกับอิสลามและภาษาอาหรับ ไม่จำกัดเฉพาะประเทศไทยหรือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3. เพื่อเป็นสื่อกระตุ้นและสนับสนุน ให้เกิดการวิจัย ค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง
ประเภทผลงานที่ตีพิมพ์
1. บทความวิจัย (Research Article) เป็นผลงานที่ได้มาจากการค้นคว้าและวิจัยด้วยตนเอง ประกอบด้วย บทนำ วัตถุประสงค์ การทบทวนวรรณกรรม และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุปและอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และอ้างอิง
2. บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นผลงานที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมทางวิชาการ มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบ โดยมุ่งเน้นการนำเสนอความรู้ใหม่ในเชิงวิชาการ ประกอบด้วย บทนำ การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา (เนื้อหาต้องชี้ถึงประเด็นของสิ่งที่ต้องการนำเสนออย่างชัดเจน) บทวิจารณ์หรือสรุป และอ้างอิง
3. บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) คือ งานเขียนที่ถ่ายทอดความคิดเห็น โดยนำเสนอเนื้อหาสาระที่เป็นความรู้ ด้วยการใช้หลักวิชาที่เหมาะสม เพื่อวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ แสดงให้เห็นถึงข้อดี ข้อไม่ดี โดยชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องของหนังสือที่จะวิจารณ์ และเสนอแนวทางแก้ไข ประกอบด้วยบทนำหรือประเด็นที่จะวิจารณ์ เนื้อหา บทสรุปและข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน
4. บทความปริทัศน์ (Review Article) คือ งานเขียนที่ประเมินสถานะล่าสุดทางวิชาการเฉพาะทางที่มีการศึกษาค้นคว้า ซึ่งมีการผสมผสานแนวคิด การทบทวนความก้าวหน้าของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และสรุปความรู้ในเรื่องนั้น ๆ จากหลาย ๆ การศึกษาจนถึงปัจจุบัน เพื่อนำเสนอแนวคิดใหม่ ๆ หรือองค์ความรู้ใหม่ โดยมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ความรู้อย่างทันสมัย และมีข้อวิจารณ์ที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ควรศึกษาและพัฒนาต่อไป
การรับบทความ
1. วารสาร Intellect เผยแพร่ผลงานที่ไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร รายงาน หรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
2. บทความทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ จะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ที่กองบรรณาธิการเรียนเชิญ จำนวน 2-3 ราย
3. ข้อมูลและบทความในวารสาร Intellect เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
4. ผู้เขียนที่ประสงค์จะส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร Intellect สามารถส่งต้นฉบับ (ไฟล์ word) ได้ 2 ช่องทาง ดังนี้ 1) ทางระบบวารสารออนไลน์ 2) ทาง e-mail (aias_pnu@hotmail.co.th)
5. ในบางสาขาที่มีความเฉพาะขอให้เสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือมีตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ขึ้นไป จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน เพื่อประเมินบทความของผู้เขียน รายละเอียดการส่งบทความสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่คำแนะนำสำหรับผู้เขียนภายในเล่มวารสารหาดใหญ่วิชาการทุกเล่ม หรือที่ aias.pnu.ac.th
รูปแบบและกำหนดเผยแพร่
วารสาร Intellect เป็นวารสารที่เผยแพร่ข้อมูลบทความวิชาการในรูปแบบออนไลน์ และมีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ ดังนี้
1. ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม – มิถุนายน
2. ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม
เจ้าของ
สถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
คณะที่ปรึกษา
1. ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร. จงรัก พลาศัย
2. รองศาสตราจารย์ ดร. รสสุคนธ์ แสงมณี
3. รองศาสตราจารย์เจ๊ะเหล๊าะ แขกพงศ์
4. รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อานิส พัฒนปรีชาวงศ์
6. ศาสตราจารย์ ดร. จรัญ มะลูลีม
บรรณาธิการ
ดร. มุสลิม คาเรง
ผู้ช่วยบรรณาธิการ
1. ผู้ช่วยศาสตาจารย์ ดร. ตัรมีซี สาและ
2. ดร. รอฮานี มาแจ
กองจัดการ
1. นายดลรามาน พันหวัง
2. นางสาวฮุสนา ดอเล๊าะ
3. นายอับดุลฮาฟิซ ดอเลาะ
4. อาจารย์สมชาย ภูมิมาโนช
5. นายนิมูฮำหมัดฟิตรี อาแว
6. นางปิยนุช วัจนศิริ
7. นางสาวซัมซียะห์ เจ๊ะสาเม๊าะ
8. อาจารย์สุรยาณี อาลีมามะ
9. อาจารย์กูอับดุลมูฮัยย์มิน ยูโซะ
กองบรรณาธิการ
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อับดุลรอเซะ หะมีแย มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มะนะพียะ เมาตี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มูฮำมัด วาเล็ง มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
4. ผู้ชวยศาสตราจารย์ ดร. อับดุลรอยะ บินเซ็ง มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มูฮัมมัด อูมูดี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
6. ดร. ฮีซาม หะยีมะมิง มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
7. ดร. แวอัมแร แวปา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
8. ดร. อิบรอเฮง ดอเลาะ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
9. อาจารย์ลุกมาน เจะกา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
10. อาจารย์อาอีซะห์ แวมามะ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
11. อาจารย์ซูเฟียน บอสู มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
12. อาจารย์มะตอเฮ มะลี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
13. ศาสตราจารย์ ดร. ซาการียา หะมะ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
14. รองศาสตราจารย์ ดร. มุฮาหมัดซากี เจ๊ะหะ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มูฮามัสสกรี มันยูนุ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
16. ดร. มะยูตี ดือรามะ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มูหำมัดสุใหมี เฮงยามา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
18. ดร. อับดุลรอแม สุหลง มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
19. ดร. ยามีละห์ โต๊ะแม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
20. อาจารย์รอมยี มอหิ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
21. รองศาสตราจารย์ ดร. อับดุลเลาะ การีนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
22. รองศาสตราจารย์อับดุลเลาะ อับรู มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
23. รองศาสตราจารย์ ดร. อิบรอฮีม ณรงค์รักษาเขต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
24. รองศาสตราจารย์ ดร. นิเลาะ แวอุเซ็ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
25. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มูหัมมัดรอฟลี แวหามะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
26. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อับดุลรอนิง สือแต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
27. ดร. สราวุธ สายทอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
28. ดร. อับดุลฮากัม เฮ็งปิยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
29. Prof. Dr. Mohd Nasran Mohamad National University of Malaysia
30. Prof. Madya. Dr. Jaffary Awang National University of Malaysia
31. Prof. Madya. Dr. Ahmad Munawar Ismail National University of Malaysia
32. Dr. Farid Mat Zain National University of Malaysia
33. Dr. Muhammad Razak Idris National University of Malaysia
34. Dr. Azmul Fahimi Kamaruzaman National University of Malaysia
35. Prof. Madya. Dr. Shofian Haji Ahmad National University of Malaysia
คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
วารสาร Intellect เป็นวารสารที่จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านอิสลามและประเด็นร่วมสมัยต่างๆที่เกี่ยวกับอิสลามทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจัดพิมพ์เป็นราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ: ฉบับที่ 1) มกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2) กรกฎาคม-ธันวาคม) รับเผยแพร่ผลงานที่ไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร รายงาน หรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น ทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ ได้ผ่านการตรวจสอบเชิงวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิที่กองบรรณาธิการเรียนเชิญ จำนวน 2-3 ราย
1. ประเภทผลงานที่ตีพิมพ์
1.1 บทความวิจัย (Research Article) เป็นผลงานที่ได้มาจากการค้นคว้าและวิจัยด้วยตนเอง ประกอบด้วย บทนำ วัตถุประสงค์ การทบทวนวรรณกรรม และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุปและอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง
1.2 บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นผลงานที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมทางวิชาการ มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบ โดยมุ่งเน้นการนำเสนอความรู้ใหม่ในเชิงวิชาการ ประกอบด้วย บทนำ การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา (เนื้อหาต้องชี้ถึงประเด็นของสิ่งที่ต้องการนำเสนออย่างชัดเจน) บทวิจารณ์หรือสรุป และเอกสารอ้างอิง
2. ภาษาผลงานวิชาการ
วารสาร Intellect เป็นวารสารเผยแพร่ผลงานวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ทั้งนี้วารสาร Intellect เปิดโอกาสให้ผู้เขียนและผู้วิจัยศึกษาเขียนบทความด้วยภาษาดังต่อไปนี้
2.1 ภาษาไทย
2.2 ภาษาอังกฤษ
2.3 ภาษามลายู
2.4 ภาษาอาหรับ
3. การเตรียมต้นฉบับบทความ
3.1 ชื่อเรื่อง ภาษาไทย ใช้รูปแบบอักษร TH Sarabun PSK ภาษาอังกฤษและมลายู ใช้รูปแบบอักษร Times New Roman ภาษาอาหรับ ใช้รูปแบบอักษร Traditional Arabic ขนาด 20 ตัวหนา
3.2 ชื่อผู้เขียน ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาอาหรับ ใช้ อักษรขนาด 16 ตัวหนา
3.3 บทคัดย่อ สำหรับผู้เขียนหรือผู้วิจัยที่เขียนบทความในภาษาไทย มลายู หรืออาหรับ ให้ระบุภาษาอังกฤษควบคู่ในบทคัดย่อ บทคัดย่อควรกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการศึกษา วิธีดำเนินการ เครื่องมือในการศึกษา ผลที่ได้จากการศึกษา ความยาวของบทคัดย่อในแต่ละภาษาต้องไม่เกิน 250 คำ พร้อมระบุคำสำคัญ (Keywords) อย่างน้อย 3 คำ แต่ไม่เกิน 5 คำ
3.4 เนื้อหา บทความทั้งฉบับมีจำนวนไม่เกิน 16 หน้ากระดาษ A4 (รวมเอกสารอ้างอิงท้ายเล่ม) พิมพ์ด้วยตัวอักษร TH Sarabun PSK ทั้งภาษาไทยภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาอาหรับขนาด 16 กำหนดระยะห่างจากขอบซ้าย ขอบขวา ขอบบน และขอบล่าง 2.54 ซม. พร้อมระบุหมายเลขหน้าที่มุมบนขวา
3.5 หัวข้อหลักในบทความ เช่น บทนำ วัตถุประสงค์ กรอบแนวคิด วิธีวิจัย ผลการวิจัย อภิปรายผล และเอกสารอ้างอิง พิมพ์ด้วยตัวอักษร ขนาด 19
3.6 ตารางและภาพประกอบ ควรมีเฉพาะที่จำเป็น มีหมายเลยกำกับ เช่น รูปที่ 1 หรือ ตารางที่ 1 โดยต้องเป็นภาพที่มีลายเส้นคมชัด
3.7 เอกสารอ้างอิง ใช้ระบบอ้างอิงของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association: APA) โดยมีรายละเอียดทั่วไป ดังนี้
1) การอ้างอิงภายในเนื้อหา ต้องตรงกับเอกสารอ้างอิงท้ายเล่ม
2) การอ้างอิงควรใช้รูปแบบที่วารสารกำหนดโดยสม่ำเสมอทั้งบทความ
3) การเรียงลำดับเอกสารอ้างอิงให้เรียงตามลำดับตัวอักษรในแต่ละภาษา
4. การส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์
4.1 ผู้เขียนสามารถส่งบทความโดยเข้าสู่เว็บไซต์ https://www………….. ซึ่งมีคู่มือแนะนำการใช้งานอยู่ทางด้านขวามือ (For Author)
4.2 การส่งต้นฉบับ ผู้เขียนที่ประสงค์จะส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร Intellect สามารถส่งต้นฉบับ (ไฟล์ word) ได้ทางระบบวารสารออนไลน์ (https://www………..)
4.3 และบางสาขาที่มีความเฉพาะขอให้เสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือมีตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ขึ้นไป อย่างน้อย 3 ท่าน ที่อยู่ต่างสถาบันกับผู้เขียน เพื่อประเมินบทความของผู้เขียน รายละเอียดการส่งบทความสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่คำแนะนำสำหรับผู้เขียนภายในเล่มวารสาร Intellect ทุกฉบับ หรือที่ https://www……..
5. ตัวอย่างการเขียนรายการบรรณานุกรม / เอกสารอ้างอิง
บทบาทและหน้าที่
บทบาทของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่า บทความที่ส่งมาเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์เป็นผลงานที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน ไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น และไม่ซ้ำซ้อนหรือละเมิดลิขสิทธิ์จากผลงานเขียนของผู้อื่น
2. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
3. บทความที่มีชื่อผู้นิพนธ์หลายคน ต้องได้รับการยินยอมจากผู้นิพนธ์ทุกคน
4. ผู้นิพนธ์ต้องศึกษารายละเอียดคำแนะนำสำหรับผู้เขียน และเขียนบทความตามรูปแบบที่วารสารหาดใหญ่วิชาการกำหนด
5. หากมีการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในบทความที่ส่งมาเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์ต้องทำการอ้างอิงในเนื้อหา (In-text Citation) และทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ (Reference) ตามรูปแบบที่วารสารหาดใหญ่วิชาการกำหนด
6. ผู้นิพนธ์ต้องให้ข้อมูลอันเกิดจากการทำวิจัยด้วยความเป็นจริง ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ
7. กรณีผู้นิพนธ์เป็นนิสิตหรือนักศึกษา บทความที่ส่งมาเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ต้องได้รับการรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา และแสดงชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาเป็นหนึ่งในผู้นิพนธ์ร่วม
8. เนื้อหาทั้งหมดที่ปรากฏในบทความที่ส่งมาเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
บทบาทของบรรณาธิการ (Duties of Editors)
1. บรรณาธิการต้องพิจารณาคุณภาพบทความเบื้องต้นก่อนเข้าสู่กระบวนการประเมิน โดยไม่มีอคติในทุกด้าน
2. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ
3. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
4. บรรณาธิการต้องตัดสินใจเลือกบทความเพื่อตีพิมพ์ภายหลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องกับขอบเขตนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ
5. หากตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมินโดยทันที และดำเนินการติดต่อผู้นิพนธ์หลักเพื่อให้ทำการชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อบรรณาธิการจะได้นำไปใช้ประกอบในการตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์บทความนั้นต่อไป
บทบาทของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
1. ผู้ประเมินต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ หรือข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งของผลงานที่ทำการประเมินแก่บุคคลอื่นซึ่งไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
2. ผู้ประเมินควรประเมินบทความในสาขาที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญ โดยประเมินบทความในแง่ของคุณภาพทางวิชาการ และไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัว ความชอบ หรือไม่ชอบ ในการตัดสินบทความ
3. หากผู้ประเมินได้รับบทความซึ่งตนเองอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง หรือมีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ประเมินควรแจ้งแก่บรรณาธิการโดยทันทีและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น
4. หากผู้ประเมินพบว่า มีเนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่งในบทความที่อาจมีความซ้ำซ้อนกับผลงานของผู้อื่น ผู้ประเมินต้องดำเนินการแจ้งให้บรรณาธิการรับทราบโดยทันที
5. ผู้ประเมินควรประเมินบทความภายในระยะเวลาที่วารสารกำหนด
6. ผู้ประเมินควรประเมินบทความด้วยความรู้ ความสามารถ เพื่อให้บทความที่ได้รับการประเมินมีคุณภาพทางวิชาการ และผู้นิพนธ์สามารถนำข้อเสนอแนะที่ได้รับกลับไปแก้ไข เพื่อให้บทความมีความสมบูรณ์ทางวิชาการ และก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อไป
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2563
ISSN 2730-2547 (Online)
MENARA : Journal of Islamic and Contemporary Issues (M-JICI) / มนารอ : วารสารประเด็นอิสลามร่วมสมัย รับพิจารณาเผยแพร่ผลงานทางวิชาการออนไลน์ ประเภทผลงานวิชาการประกอบด้วยบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และบทความปริทัศน์ ทั้งนี้บทความต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารอื่นมาก่อนนับจากวันที่ผู้เขียนได้ส่งบทความฉบับนี้มายังกองบรรณาธิการ
บทความวิจัย
- ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อการสอนมัลติมีเดียที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านอัลกุรอานขั้นพื้นฐานที่มีการผสมสระซุกูนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศานติวิทยา จังหวัดยะลา / Results of Learning Management by Using Multimedia Teaching Materials Affecting the Learning Achievement on Basic Quranic Reading with Mixing Sukun Vowel of Primary School Students, Year 3, Santiwittaya, Yala Province
ซุนกิบพลี คะแน (1-13)
- ผลการจัดการเรียนรู้อิสลามศึกษา เรื่องการละหมาดโดยใช้เกมภาษามลายูสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านตาเซะ จังหวัดยะลา / Results of Learning Islamic Studies Management on Praying by Using Melayu Language Game for Primary School Students, Year 2 of Ban Taseh School, Yala Province
ต่วนสุไลมาน กูจิ (14-27)
- การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนสะกดคำสาระการเรียนรู้อัลกุรอาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไอสะเตีย / The Development of Learning Management by Instructional Package of Spelling Words on al-Quran Subject for Primary School Students, Year 6, Ban Aisatia School
นูรฟาดีละห์ ยาเอ๊ะ (28-44)
- การพัฒนาทักษะการอ่านคำกล่าวในการละหมาดโดยใช้บทบาทสมมติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบาตู / Development the Reading Skill of Saying Pillars in Praying by Using Role-Play for Primary School Students, Year 3 Ban Batu School
นูรอาตีฟา แมดิงแว, อับดุลรอแม สุหลง (45-56)
- ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง สาระวิชาอัลฟิกฮฺ เรื่องนะญิส สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านคอลอกาเว / The Achievement on Learning Management by Using Simulated Situation of al-Fiqh Subject in Impure for Primary School Students, Year 2, Ban Kholo-kaway School
อิสมาแอล สาแม็ง (57-70)
บทความวิชาการ
- Pencapaian Pengurusan Zakat di kalangan Minoriti Muslim Bangkok / Achievement of Zakat Management among the Muslim Minority in Bangkok
Waeamrene Waepa (71-84)
กองบรรณาธิการวารสาร Intellect
สถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
99 หมู่ 8 ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส 96000
aias@pnu.ac.th / habba_yabnee@hotmail.com
073-709030 ต่อ 355