หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา
B.A. Islamic Studies
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Islamic Studies
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย): ศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาอิสลามศึกษา
ชื่อย่อ (ไทย): ศศ.บ. ( อิสลามศึกษา)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ): Bachelor of Arts (Islamic Studies)
ชื่อย่อ (อังกฤษ): B.A. (Islamic Studies)
ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านอิสลามศึกษา มีทักษะด้านการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ ก้าวนำความเปลี่ยนแปลง พร้อมพัฒนาคุณภาพ ชีวิตตนเองและสังคมอย่างสมดุล ด้วยกระบวนการศึกษาที่มีคุณภาพทันสมัยและบูรณาการ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรฯ จํานวน 5 ข้อ ได้แก่
1.อธิบายบทบัญญัติอิสลามที่เกี่ยวข้องกบการดําเนินชีวิตประจําวันได้อย่างถูกต้อง
2.คิดวิเคราะห์และเชื่อมโยงศาสตร์ด้านอิสลามศึกษากับศาสตร์อื่นเพื่อการประยุกต์ใช้ได้อย่าง เหมาะสม
3.มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย และความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นภายใต้บริบทสังคม พหุวัฒนธรรม
4.สามารถใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูล สื่อสาร และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางอิสลามศึกษาได้ ทั้ง ด้วยภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
5.สามารถสร้างนวัตกรรมทางอิสลามศึกษาที่เหมาะสมกับยุคสมัยในสังคมพหุวัฒนธรรมแห่ง ประชาคมอาเซียน
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ทักษะเฉพาะทาง ได้แก่
1. อธิบายศาสตร์ด้านอิสลามศึกษาในระดับพื้นฐานได้ด้วยภาษาที่หลากหลายอย่างน้อย 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย มลายู และอาหรับ
2. อ่านและสอนอัลกุรอานได้อย่างถูกต้องตามหลักการอ่านและอักขระวิธี
3. แสดงออกซึ่งการยึดมั่นต่อหลักคาสอนจากอัลกุรอาน อัซซุนนะฮฺ และจริยธรรมอันดีงามของอิสลาม
4. ค้นคว้าศาสตร์ทางอิสลามศึกษา พร้อมนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันอย่างเหมาะสม และถ่ายทอดได้ทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาชาติ
5. วิเคราะห์ปัญหาร่วมสมัย และชี้นาการแก้ปัญหาด้วยศาสตร์ทางอิสลามศึกษาได้อย่างเหมาะสม
ทักษะทั่วไป ได้แก่
6. แสดงออกซึ่งความมีวินัย ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
7. แสดงออกซึ่งความคิดเชิงระบบ ก้าวทันความเปลี่ยนแปลง และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่หลากหลายทางวัฒนธรรม
8. นาเสนอข้อมูลทางอิสลามศึกษาด้วยทักษะที่เหมาะสมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
– วิทยากร ผู้สอนและที่ปรึกษาด้านอิสลามศึกษา
– ผู้ช่วยนักวิจัย นักผลิตสื่อและนวัตกรรมด้านอิสลามศึกษา
– ผู้ประสานงานระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศอาเซียนและโลกมุสลิม
– พนักงานสถาบันการเงิน สหกรณ์ที่ให้บริการตามระบบอิสลาม
– พนักงานในหน่วยงานของรัฐและเอกชน
– ผู้นาชุมชน ท้องถิ่นและองค์กรมุสลิมต่างๆ
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 136 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 31 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาภาษา 12 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 6 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชากีฬาพลศึกษา 1 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ 99 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาแกน 17 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเอก (แบบเอกเดี่ยว) 82 หน่วยกิต
วิชาเอกบังคับ 56 หน่วยกิต
วิชาเอกเลือก ไม่น้อยกว่า 26 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเอก (แบบเอก-โท) 82 หน่วยกิต
วิชาเอกบังคับ 56 หน่วยกิต
วิชาเอกเลือก ไม่น้อยกว่า 11 หน่วยกิต
วิชาโท ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาโท (สำหรับนักศึกษาหลักสูตรอื่น) ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
กลุ่มวิชา เลือก 6 หน่วยกิต
ลำดับเนื้อหารายวิชาตลอดหลักสูตรตามลำดับชั้นปี
ชั้นปี/ภาคการศึกษา | เนื้อหาการเรียนในหลักสูตร | ||||||
| 4/2 | หลักและวิธีการเผยแผ่ การเงิน การธนาคารในอิสลาม การสัมมนาทางอิสลามศึกษา หลักภาษาอาหรับ 2 วรรณคดี 2 วาทศิลป์ 2 เศรษฐศาสตร์อิสลาม | |||||
4/1 | การบริหารและการจัดการในอิสลาม สารนิพนธ์ | ||||||
| 3/2 | ระบบการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ หลักการสอน โลกมุสลิมปัจจุบัน ระเบียบวิธีการวิจัย หลักภาษาอาหรับ 1 วรรณคดี 1 ฟิกฮุลลุเฆาะฮฺ | |||||
3/1 | จริยธรรมของท่านนบี วิธีการวิจัยทางอิสลามศึกษา ระบบอิสลาม อิสลามกับประเด็นร่วมสมัย หลักการเสวนา การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การพูดเพื่อสังคม | ||||||
|
2/2 | ศาสนบัญญัติว่าด้วยการทำธุรกรรม หะดีษ ๑ บทบัญญัติเกี่ยวกับครอบครัวและมรดกอิสลาม อารยธรรมอิสลามและโลกาภิวัตน์ กฎหมายในชีวิตประจำวัน คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน | |||||
2/1 | อรรถาธิบายอัลกุรอาน ๑ หลักศาสนบัญญัติ ประวัติศาสตร์อิสลาม ๑ ภาษาอาหรับ ๒ ภาษามลายูเพื่อการสื่อสาร สังคมวิทยาจังหวัดชายแดนใต้ | ||||||
|
1/2
1/1 | ความรู้เกี่ยวกับอัลหะดีษ ชีวประวัติท่านนบี ศาสนบัญญัติว่าด้วยอิบาดาต ภาษาอาหรับ ๑ การใช้ภาษาไทย การสนทนาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร | |||||
ความรู้เกี่ยวกับอัลกุรอาน หลักการศรัทธา ประวัติศาสตร์กฎหมายอิสลาม อัลกุรอานและตัจญ์วีด ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน การค้นคว้าสารสนเทศและการเขียนรายงานทางวิชาการ |
รูปแบบการจัดการเรียนสอน
จัดการเรียนการสอนโดยใช้ ภาษาไทย ภาษามลายู ภาษาอาหรับ และภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในแต่ละรายวิชาตามความเหมาะสม โดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศ ใช้สื่อการสอนที่หลากหลายและทันสมัย บูรณาการด้วยกิจกรรมพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทักษะทางสังคม ทักษะการคิดวิเคราะห์ และการการศึกษาดูงานนอกสถานที่ การฝึกงาน และสหกิจศึกษา
ทุนการศึกษาที่ผู้เรียนจะได้รับ
- ทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)/ (กรอ.)
- ทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สกอ.)
- ทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในวันไหว้ครู
- ทุนยกเว้นค่าหน่วยกิตสำหรับนักศึกษาที่ได้ผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
- ทุนซะกาตในงานรอมฎอนสัมพันธ์
- ทุนการศึกษาจากมูลนิธิอัลบายานเพื่อการศึกษา
- ทุนการศึกษาจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ
- ทุนช่วยเหลืออื่นๆ
กิจกรรมเด่นในสาขาวิชาอิสลามศึกษา
- กิจกรรมแลกเปลี่ยนนักศึกษาเพื่อเสริมทักษะทางวิชาการ ณ มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
- กิจกรรมพัฒนาทักษะภาษาอาหรับเสริมหลักสูตร ด้านการพูด การฟัง การอ่าน และเขียนภาษาอาหรับกับอาจารย์ชาวอาหรับโดยตรง
- กิจกรรมพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษทั้งในและต่างประเทศ
- กิจกรรมเชิงวิชาการฯ และนิทรรศการสาขาในงานวันสถาปนามหาวิทยาลัยฯ
- กิจกรรมชุมนุมนักศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนานักศึกษาตามความถนัดและศักยภาพของตนเอง
- กิจกรรมส่งเสริมการอ่านและท่องจำอัลกุรอานประจำสัปดาห์กิจกรรมการอ่านคุตบะฮฺ และนำละหมาดตะรอวีฮ์ในเดือนรอมฎอน
- กิจกรรมการสอนตาดีกา
- กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาชุมชน
- หลักสูตรปรับปรุง 2565
- หลักสูตรปรับปรุง 2560
ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ 081-098 37 56 (ดร.ตัรมีซี สาและ – ประธานหลักสูตร), 081-4782872 (ผศ.ดร.อานิส พัฒนปรีชาวงศ์) / โทรสาร 0-7370-9030 ต่อ 3555
E-mail: aias_tarmisi@hotmail.com/ aias_pnu@hotmail.com
เว็บไซต์ : http://www.aias.pnu.ac.th