หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาอิสลามศึกษา
M.A. Islamic Studies
ภาษาที่ใช้
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอาหรับเป็นหลัก และเสริมด้วยภาษาไทย ภาษามาลายู หรือภาษาอังกฤษ ส่วนการเขียนวิทยานิพนธ์ นักศึกษาสามารถเขียนโดยใช้ภาษาไทย ภาษามาลายู ภาษาอาหรับ หรือภาษาอังกฤษได้
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
จัดการดำเนินการเรียนการสอนตามรายละเอียดต่อไปนี้
ภาคการศึกษาต้น เดือนมิถุนายน – พฤศจิกายน
ภาคการศึกษาปลาย เดือนธันวาคม – พฤษภาคม
แผน ก แบบ ก1 และแผน ก แบบ ก2 เรียนวันเสาร์และวันอาทิตย์
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
แผน ก แบบ ก1
1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาอิสลามศึกษา หรือสาขา ที่สัมพันธ์ โดยมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.70 หรือ มีประสบการณ์ในการวิจัยในสาขาวิชาอิสลามศึกษาหรือสาขาที่สัมพันธ์ หรือ มีผลงานทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง
1.2 คุณสมบัติอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากข้อ 1.1 โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ทั้งนี้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2557
แผน ก แบบ ก2
2.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาอิสลามศึกษา หรือสาขาที่สัมพันธ์โดยมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือมีประสบการณ์การทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 1 ปี
2.2 คุณสมบัติอื่นๆ ที่นอกเหนือจากข้อ 2.1 โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้รับผิดชอบหลักสูตร ทั้งนี้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2557
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. นักวิชาการอิสลามศึกษา
2. นักวิจัยทางสังคมศาสตร์
3. อาจารย์มหาวิทยาลัย
4. ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับอิสลามศึกษา เช่น ผู้สอน ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษาด้านอิสลามแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นต้น
โครงสร้างหลักสูตร
มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ
1. แผน ก แบบ ก1 เน้นทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษางานรายวิชาเพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต
2. แผน ก แบบ ก2 ทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต และศึกษางานรายวิชาที่ต้องเรียนไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต
Number of credit hours needed to complete it
1. Plan A Type A1, It consists of 36 credits of thesis course and other courses are taken in the curriculum, but credits are not counted.
2. Plan A Type A2, It consists of at least 18 credits and the thesis course of not less than 18 credits. The total duration of the course is at least 36 credits.
แผน ก แบบ ก1 | ||
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น | หน่วยกิต | |
09-036-101 | บทอ่านภาษาอังกฤษเพื่ออิสลามศึกษา* | 0 (2-0-3) |
09-036-202 | วิธีวิทยาการวิจัยทางอิสลามศึกษา* | 0 (1-2-3) |
09-036-401 | วิทยานิพนธ์ แผน ก แบบ ก1 | 6(0-18-0) |
รวม | 6 | |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย | ||
09-036-401 | วิทยานิพนธ์ แผน ก แบบ ก1 | 9(0-27-0) |
รวม | 9 | |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น | ||
09-036-401 | วิทยานิพนธ์ แผน ก แบบ ก1 | 9(0-27-0) |
รวม | 9 | |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาปลาย | ||
09-036-401 | วิทยานิพนธ์ แผน ก แบบ ก1 | 12(0-36-0) |
รวม | 12 |
แผน ก แบบ ก2 | ||
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น | หน่วยกิต | |
09-036-101 | บทอ่านภาษาอังกฤษเพื่ออิสลามศึกษา* | 0(2-0-3) |
09-036-201 | การศึกษาอัลกุรอานและอัสซุนนะฮฺ | 2(1-2-3) |
09-036-202 | วิธีวิทยาการวิจัยทางอิสลามศึกษา | 2(1-2-3) |
09-036-203 | สัมมนาอิสลามกับประเด็นปัญหาร่วมสมัย | 2(1-2-3) |
รวม | 6 | |
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย | ||
09-036-301 | อะกีดะฮฺ อิสลามียะฮฺ | 2(1-2-3) |
09-036-302 | อิสลามในพหุวัฒนธรรม | 2(1-2-3) |
09-036-303 | ฟิกฮฺมุอามาลาตในสังคมปัจจุบัน | 2(1-2-3) |
09-036-402 | วิทยานิพนธ์ แผน ก แบบ ก2 | 6(0-18-0) |
รวม | 12 | |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น | ||
09-036-304 | ชารีอะฮฺกับจริยธรรม | 2(1-2-3) |
09-036-305 | การจัดการฝึกอบรมและนวัตกรรมทางอิสลามศึกษา | 2(1-2-3) |
09-036-30609-036-402 | ศาสตร์การสอนทางอิสลามศึกษาวิทยานิพนธ์ แผน ก แบบ ก2 | 2(1-2-3)6(0-18-0) |
รวม | 12 | |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาปลาย | ||
09-036-402 | วิทยานิพนธ์ แผน ก แบบ ก2 | 6(0-18-0) |
รวม | 6 |
มาตรฐานผลการเรียนรู้ของหลักสูตร
(หมวดวิชาทั่วไปและหมวดวิชาเฉพาะ)
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม1.1) ตระหนักถึงความสำคัญในวิถีชีวิตภายใต้กรอบคุณธรรม และจริยธรรมอิสลาม1.2) เคารพในสิทธิมนุษยชน มีสัมมาคารวะ ให้เกียรติ และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 1.3) มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม มีวินัย ตรงต่อเวลา และสามารถใช้ชีวิตพหุวัฒนธรรมในสังคมไทย |
2. ด้านความรู้ 2.1) มีความเข้าใจในองค์ความรู้ทางอิสลามศึกษา ทั้งภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ สามารถสร้างเสริมองค์ความรู้ |
3. ด้านทักษะทางปัญญา3.1) มีแนวคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเด็นทางวิชาการโดยใช้ความรู้ด้านอิสลามศึกษาและศาสตร์อื่นๆ ร่วมสมัย3.2) มีความสามารถในการสังเคราะห์ตัวบทและใช้ผลงานวิจัย สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการที่มีมาก่อนสู่การพัฒนาความคิดใหม่ๆ โดยการบูรณาการให้เข้ากับองค์ความรู้เดิมหรือเสนอเป็นความรู้ใหม่ที่สร้างสรรค์3.3) มีความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นหรือปัญหาความขัดแย้งได้อย่างสร้างสรรค์ รวมถึงการผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมทางอิสลามศึกษา 3.4) มีความสามารถดำเนินการค้นคว้าทางวิชาการและวิจัย โดยการใช้ความรู้ด้านอิสลามศึกษาและศาสตร์อื่นๆ |
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ4.1) สามารถสร้างความสัมพันธ์และแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคลและองค์กรได้4.2) สามารถประเมินสถานการณ์ วางแผนและตัดสินใจในการดำเนินงานของตนเองและองค์กรให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระดับสูงได้4.3) มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองและให้ความร่วมมือกับผู้อื่นอย่างเต็มที่ในการจัดการปัญหาความขัดแย้งและปัญหาต่างๆ4.4) มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี แสดงทักษะการเป็นผู้นำได้อย่างเหมาะสมตามโอกาสและสถานการณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่ม |
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ5.1) สามารถสื่อสารทั้งการพูดและการเขียนภาษามลายูได้อย่างมีประสิทธิภาพ5.2) รู้จักเลือกและใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ5.3) สามารถเข้าถึง และคัดเลือกความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอิสลามศึกษา จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ5.4) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการเผยแผ่องค์ความรู้และการผลิตสื่อหรือนวัตกรรมทางอิสลามศึกษา |
– สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
เป็นหลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564
เวลาที่เริ่มใช้หลักสูตรภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2564
สภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ อนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันที่ 14 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
– ระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี
– อิสลามศึกษาจบได้ภายใน 2 ปี
– ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
80,000 บาท
>>> คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์ <<<
>>> ตัวอย่าง โปสเตอร์บทความวิจัย <<<
ระบบอุทธรณ์ของนักศึกษาหลักสูตร ป.โท ฯ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1. นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขออุทธรณ์ผลการเรียนต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ
2. จากนั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการเสนอรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
3. นำเข้าสู่คณะกรรมการประชุมพิจารณาเสนอผู้อำนวยการเพื่ออนุมัติผลการอุทธรณ์
4. แจ้งผลการอุทธรณ์แก่นักศึกษาโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ
5. นักศึกษาสามารถยืนได้ไม่เกิน 10 วันหลังจากเกรดออก
6. นักศึกษาจะทราบผลอุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับจากประชุมคณะกรรมการหลักสูตรฯ
นอกจากนี้หลักสูตรฯได้เปิดช่องทางเพื่อการรับความคิดเห็นและการร้องเรียน โดยผ่านอาจารย์ที่ปรึกษา ทาง Line กลุ่มนักศึกษาและคณาจารย์ และอีเมล์อาจารย์ รวมทั้งได้เปิดช่องทางให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นหือร้องเรียนทางเว็บเบอร์ดของเว็บไซต์สถาบันอิสลามฯ (aias.pnu.ac.th) ตลอดจนมีการติดตามพูดคุยและรับข้อร้องเรียนต่างๆจากนักศึกษาเพื่อการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือนักศึกษาเบื้องต้นหรือเสนอต่อหัวหน้าสาขาหลักสูตรฯ เพื่อพิจารณาตามขั้นตอนที่กำหนดต่อไป